วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 10 เหตุลดโทษ

บทที่ 10
เหตุลดโทษ

เหตุลดโทษ (mitigating) ไม่ได้อยู่ในโครงสร้างความรับผิดทางอาญา (Structure of Crime) ด้วยเหตุผลที่ว่าโครงสร้างความรับผิดทางอาญานั้นมีไว้พิจารณาความรับผิดทางอาญาของบุคคลนั้นว่ามีความผิดและต้องรับโทษทางอาญาหรือไม่ แต่เหตุลดโทษเป็นการพิจารณาถึงเหตุที่ทำให้ผู้กระทำความผิดนั้นได้รับโทษตามกฎหมายน้อยลง ไม่ได้อยู่ในส่วนของการพิจารณาว่าผู้กระทำต้องรับโทษหรือไม่ ดังนั้นเหตุลดโทษจึงเป็นเหตุที่ทำให้ศาลใช้ดุลพินิจในการลดโทษหรือลงโทษผู้กระทำความผิดน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด[1] ซึ่งเหตุลดโทษมีหลายเหตุ ดังต่อไปนี้

1.      ความไม่รู้กฎหมาย . 64

มาตรา 64 บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความรับผิดในทางอาญาไม่ได้ แต่ถ้าศาลเห็นว่าตามสภาพและพฤติการณ์ ผู้กระทำความผิดอาจจะไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด ศาลอาจอนุญาตให้แสดงพยานหลักฐานต่อศาล และถ้าศาลเชื่อว่าผู้กระทำไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้นศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
ความไม่รู้กฎหมายนั้นโดยหลักแล้วไม่อาจเอามาอ้างเพื่อให้ตนเองพ้นจากความรับผิดได้[2] เพราะกฎหมายสันนิษฐานว่าบุคคลทุกคนย่อมต้องรู้ว่ากฎหมายมีอยู่อย่างไร เป็นหน้าที่ของประชาชนเองที่ต้องคอยติดตามว่ารัฐประกาศใช้กฎหมายอะไรบ้าง แต่อย่างไรก็ตามย่อมเป็นการพ้นวิสัยที่ประชาชนทุกคนจะรู้ว่าส่านกฎหมายบัญญัติไว้อย่างไร โดยเฉพาะการบัญญัติความผิดตามกฎหมายอาญาที่เป็นความผิดเพราะกฎหมายกำหนด เช่น กฎหมายจราจร พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ซึ่งประชาชนทั่วไปอาจไม่ทราบ เพราะไม่ใช่ความผิดในตัวเอง ดังนั้นหากผู้กระทำความผิดอ้างว่าไม่รู้ว่ากฎหมาย ศาลอาจอนุญาตให้แสดงพยานหลักฐานต่อศาล และถ้าศาลเชื่อว่าผู้กระทำไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้นศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3142/2557 แม้จำเลยและผู้เสียหายเป็นเจ้าของรวมในสวนยางพาราที่เกิดเหตุ แต่ก่อนเกิดเหตุจำเลยยอมให้ผู้เสียหายครอบครองและได้ประโยชน์เพียงผู้เดียว การที่จำเลยจ้าง ส. เข้าไปกรีดยางพาราจะเอาน้ำยางพาราไปเพียงผู้เดียว จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง ย่อมเป็นการทุจริตแล้ว เมื่อน้ำยางพาราที่กรีดยังอยู่ในถ้วยรองน้ำยางยังไม่ได้ถูกนำไป เป็นเพียงพยายามกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ การที่จำเลยเข้าใจว่ามีอำนาจทำได้โดยสุจริตและ ส. ก็กระทำโดยเปิดเผย เป็นการอ้างความไม่รู้ข้อกฎหมายของจำเลยในเรื่องนี้ ซึ่งใช้แก้ตัวให้พ้นจากความรับผิดทางอาญาไม่ได้ตาม ป.อ. มาตรา 64


เป็นเนื้อหาบางส่วนที่นำมาจากหนังสือคำอธิบายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป หากต้องการอ่านทั้งหมดสามารถซื้อได้ตามลิ้งด้านล่างครับ


คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
กฎหมายอาญาเบื้องต้น คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป อ่านเข้าใจง่าย ใช้เวลาไม่นานในการอ่านก็เข้าใจกฎหมายอาญาได้


ถาม-ตอบ กฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือถาม-ตอบ กฎหมายอาญาภาคทั่วไปจัดทำขึ้นมาโดยประสงค์จะให้นิสิต นักศึกษา รวมถึงผู้ที่สนใจกฎหมายอาญาภาคทั่วไปได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับกฎหมายอาญาภาคทั่วไป ซึ่งคำถามทั้งหมดครอบคลุมเนื้อหากฎหมายอาญาภาคทั่วไป ผู้เขียนตั้งใจเขียนให้อ่านเข้าใจง่าย เป็นการตั้งคำถามและอธิบายหลักการตามกฎหมาย รวมถึงมีการยกตัวอย่างเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนกฎหมายอาญา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น