วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 9 เหตุยกเว้นโทษ


บทที่ 9
เหตุยกเว้นโทษ

การกระทำใดที่ครบองค์ประกอบความผิดในฐานนั้นๆ แล้ว (ผ่านโครงสร้างข้อที่ 1) และพิจารณาแล้วว่าการกระทำความผิดนั้นไม่มีเหตุยกเว้นความผิดไว้ (ผ่านโครงสร้างข้อที่ 2) ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดอาญาแล้ว แต่ทั้งนี้อาจมีเหตุตามกฎหมายที่ทำให้ผู้กระทำผิดนั้นไม่ต้องรับโทษทางอาญาในฐานนั้น ๆ ก็ได้ เช่น ไม่ต้องจำคุก หรือถูกปรับ เป็นต้น ซึ่งเรียกเหตุดังกล่าวว่าเหตุยกเว้นโทษ (excuse) เหตุที่กฎหมายยกเว้นโทษให้มีสาเหตุหลายประการ ซึ่งแต่ละเหตุนั้นยังไม่มีเหตุผลที่ชอบธรรมเพียงพอที่กฎหมายจะเว้นความผิดให้เลย แต่ก็มีเหตุผลเพียงพอที่กฎหมายไม่ควรลงโทษบุคคลดังกล่าวตามกฎหมาย แม้เขาเหล่านั้นจะได้กระทำความผิดก็ตาม เช่น การกระทำผิดเพราะไม่รู้ผิดชอบในการกระทำของตนเองเพราะเป็นเด็กหรือคนวิกลจริต ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากความชั่ว[1]หรือเป็นการกระทำด้วยความจำเป็นต้องกระทำซึ่งถือเป็นเหตุที่กฎหมายยกเว้นโทษให้เช่นเดียวกัน[2]
          1. การกระทำผิดด้วยความจำเป็นตาม ม.67
            2. การกระทำความผิดของเด็กอายุไม่เกิน 10 ปี ตาม ม.73 และการกระทำความผิดของเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ตาม ม.74
            3. การกระทำความผิดของคนวิกลจริต ตาม ม.65
            4. การกระทำความผิดด้วยความมึนเมา ตาม ม.66
            5. การกระทำตามคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายของเจ้าพนักงาน ตาม ม.70
            6. การกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ในบางความผิดระหว่างสามีกริยา ตาม ม.71 วรรคแรก
1. การกระทำผิดด้วยความจำเป็นตาม ม.67
          การกระทำความผิดด้วยความจำเป็นนั้นกฎหมายอาญาของไทยถือเป็นเหตุยกเว้นโทษ หมายถึง ผู้กระทำยังมีความผิดอยู่แต่ไม่ต้องรับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เนื่องจากกฎหมายถือว่า ผู้ที่กระทำนั้นจำเป็นต้องกระทำเพราะไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า โดยสาเหตุที่ไม่มีทางเลือกเนื่องจากกระทำความผิดนั้นมาจาก ถูกบังคับให้กระทำความผิด หรือไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการกระทำความผิด ซึ่งถ้าพิจารณาถึงเจตนาของผู้กระทำความผิดนั้น เขากระทำผิดโดยเจตนาที่จะกระทำ (มีจิตใจที่ชั่วร้าย) จึงมีความผิดอยู่ แต่อย่างไรก็ตามการกระทำความผิดดังกล่าวก็เพราะถูกบังคับให้จำใจต้องกระทำ กฎหมายก็เหตุใจผู้ที่ตกอยู่ในภาวะดังกล่าว กฎหมายจึงให้อภัยโดยการกำหนดให้เป็นเหตุยกเว้นโทษ[3]




เป็นเนื้อหาบางส่วนที่นำมาจากหนังสือคำอธิบายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป หากต้องการอ่านทั้งหมดสามารถซื้อได้ตามลิ้งด้านล่างครับ


คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
กฎหมายอาญาเบื้องต้น คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป อ่านเข้าใจง่าย ใช้เวลาไม่นานในการอ่านก็เข้าใจกฎหมายอาญาได้


ถาม-ตอบ กฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือถาม-ตอบ กฎหมายอาญาภาคทั่วไปจัดทำขึ้นมาโดยประสงค์จะให้นิสิต นักศึกษา รวมถึงผู้ที่สนใจกฎหมายอาญาภาคทั่วไปได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับกฎหมายอาญาภาคทั่วไป ซึ่งคำถามทั้งหมดครอบคลุมเนื้อหากฎหมายอาญาภาคทั่วไป ผู้เขียนตั้งใจเขียนให้อ่านเข้าใจง่าย เป็นการตั้งคำถามและอธิบายหลักการตามกฎหมาย รวมถึงมีการยกตัวอย่างเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนกฎหมายอาญา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น