วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 9 เหตุยกเว้นโทษ


บทที่ 9
เหตุยกเว้นโทษ

การกระทำใดที่ครบองค์ประกอบความผิดในฐานนั้นๆ แล้ว (ผ่านโครงสร้างข้อที่ 1) และพิจารณาแล้วว่าการกระทำความผิดนั้นไม่มีเหตุยกเว้นความผิดไว้ (ผ่านโครงสร้างข้อที่ 2) ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดอาญาแล้ว แต่ทั้งนี้อาจมีเหตุตามกฎหมายที่ทำให้ผู้กระทำผิดนั้นไม่ต้องรับโทษทางอาญาในฐานนั้น ๆ ก็ได้ เช่น ไม่ต้องจำคุก หรือถูกปรับ เป็นต้น ซึ่งเรียกเหตุดังกล่าวว่าเหตุยกเว้นโทษ (excuse) เหตุที่กฎหมายยกเว้นโทษให้มีสาเหตุหลายประการ ซึ่งแต่ละเหตุนั้นยังไม่มีเหตุผลที่ชอบธรรมเพียงพอที่กฎหมายจะเว้นความผิดให้เลย แต่ก็มีเหตุผลเพียงพอที่กฎหมายไม่ควรลงโทษบุคคลดังกล่าวตามกฎหมาย แม้เขาเหล่านั้นจะได้กระทำความผิดก็ตาม เช่น การกระทำผิดเพราะไม่รู้ผิดชอบในการกระทำของตนเองเพราะเป็นเด็กหรือคนวิกลจริต ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากความชั่ว[1]หรือเป็นการกระทำด้วยความจำเป็นต้องกระทำซึ่งถือเป็นเหตุที่กฎหมายยกเว้นโทษให้เช่นเดียวกัน[2]
          1. การกระทำผิดด้วยความจำเป็นตาม ม.67
            2. การกระทำความผิดของเด็กอายุไม่เกิน 10 ปี ตาม ม.73 และการกระทำความผิดของเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ตาม ม.74
            3. การกระทำความผิดของคนวิกลจริต ตาม ม.65
            4. การกระทำความผิดด้วยความมึนเมา ตาม ม.66
            5. การกระทำตามคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายของเจ้าพนักงาน ตาม ม.70
            6. การกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ในบางความผิดระหว่างสามีกริยา ตาม ม.71 วรรคแรก
1. การกระทำผิดด้วยความจำเป็นตาม ม.67
          การกระทำความผิดด้วยความจำเป็นนั้นกฎหมายอาญาของไทยถือเป็นเหตุยกเว้นโทษ หมายถึง ผู้กระทำยังมีความผิดอยู่แต่ไม่ต้องรับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เนื่องจากกฎหมายถือว่า ผู้ที่กระทำนั้นจำเป็นต้องกระทำเพราะไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า โดยสาเหตุที่ไม่มีทางเลือกเนื่องจากกระทำความผิดนั้นมาจาก ถูกบังคับให้กระทำความผิด หรือไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการกระทำความผิด ซึ่งถ้าพิจารณาถึงเจตนาของผู้กระทำความผิดนั้น เขากระทำผิดโดยเจตนาที่จะกระทำ (มีจิตใจที่ชั่วร้าย) จึงมีความผิดอยู่ แต่อย่างไรก็ตามการกระทำความผิดดังกล่าวก็เพราะถูกบังคับให้จำใจต้องกระทำ กฎหมายก็เหตุใจผู้ที่ตกอยู่ในภาวะดังกล่าว กฎหมายจึงให้อภัยโดยการกำหนดให้เป็นเหตุยกเว้นโทษ[3]




เป็นเนื้อหาบางส่วนที่นำมาจากหนังสือคำอธิบายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป หากต้องการอ่านทั้งหมดสามารถซื้อได้ตามลิ้งด้านล่างครับ


คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
กฎหมายอาญาเบื้องต้น คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป อ่านเข้าใจง่าย ใช้เวลาไม่นานในการอ่านก็เข้าใจกฎหมายอาญาได้


ถาม-ตอบ กฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือถาม-ตอบ กฎหมายอาญาภาคทั่วไปจัดทำขึ้นมาโดยประสงค์จะให้นิสิต นักศึกษา รวมถึงผู้ที่สนใจกฎหมายอาญาภาคทั่วไปได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับกฎหมายอาญาภาคทั่วไป ซึ่งคำถามทั้งหมดครอบคลุมเนื้อหากฎหมายอาญาภาคทั่วไป ผู้เขียนตั้งใจเขียนให้อ่านเข้าใจง่าย เป็นการตั้งคำถามและอธิบายหลักการตามกฎหมาย รวมถึงมีการยกตัวอย่างเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนกฎหมายอาญา

บทที่ 8 เหตุยกเว้นความผิด




บทที่ 8 
เหตุยกเว้นความผิด



1. แนวความคิดเกี่ยวกับการยกเว้นความผิด

เหตุยกเว้นความผิดคือ เหตุที่ทำให้การกระทำความผิดอาญาที่ผ่านโครงสร้างความรับผิดทางอาญาโครงสร้างที่ 1 มาแล้วนั้น ไม่มีความผิด ผู้กระทำจึงไม่ต้องรับผิดทางอาญาสำหรับการกระทำนั้น ๆ ซึ่งการที่กฎหมายยกเว้นความรับผิดให้เพราะการกระทำดังกล่าว เป็นเรื่องที่ผู้กระทำมีความชอบธรรมที่จะกระทำได้โดยไม่ควรต้องมีความรับผิดทางอาญา โดยเหตุยกเว้นความรับผิดทางอาญามีหลายเหตุ แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงแต่เพียงการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย และความยินยอมเท่านั้น

2. เหตุยกเว้นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา

1) การกระทำโดยการป้องกัน ม.68 (Lawful Defense)

            เหตุผลที่กฎหมายอาญายอมให้บุคคลที่กระทำอันเป็นความผิดอาญาสามารถอ้างป้องกันตัวได้ เพราะว่ารัฐไม่สามารถให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนของรัฐได้อย่างทันท่วงทีและตลอดเวลา รัฐจึงให้สิทธิป้องกันตัวแก่ประชาชน โดยการกระทำของประชาชนนั้นแม้จะครบองค์ประกอบความผิดหรือผ่านโครงสร้างทางอาญาโครงสร้างที่ 1 มาแล้วก็ตาม ประชาชนก็มีความชอบธรรมในการป้องกันตนเองหรือผู้อื่นให้พ้นจากภยันตรายอันจะเกิดขึ้นกับตัวเองหรือผู้อื่นให้พ้นจากภยันตรายนั้นโดยไม่ต้องรับผิดทางอาญา ซึ่งการป้องกันตามกฎหมายไทยอยู่ใน มาตรา 68 “ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่น ให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด”

หลักเกณฑ์ของการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย[1]

            การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ม. 68 ของประมวลกฎหมายอาญานั้นจะต้องครบหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ หากไม่ครบแต่เพียงข้อใดข้อหนึ่งก็ไม่ใช่การป้องกันโดยชอบที่เป็นเหตุยกเว้นความผิดที่อยู่ในโครงสร้างความรับผิดทางอาญาโครงสร้างที่ 2

            1) มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย คำว่ามีภยันตราย (Danger) หมายถึง ภัยที่เป็นความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง เสรีภาพ ทรัพย์สิน[2] ซึ่งเป็นสิทธิของบุคคล ภัยที่เป็นอันตรายต่อสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งที่กฎหมายคุ้มครองอยู่ เมื่อมีผู้ใดมาประทุษร้ายย่อมสามารถป้องกันได้ ซึ่งถือเป็นสถานการณ์ที่ทำให้ผู้กระทำมีอำนาจกระทำได้[3] แต่หากยังไม่มีภยันตราย ก็ไม่อาจอ้างป้องกันได้ เช่น คำพิพากษาฎีกาที่ 5664/2540 จำเลยเพียงแต่เกรงว่าผู้ตายจะชักปืนออกมายิง ทั้งที่ยังไม่มีพฤติการณ์ที่ส่อว่าผู้ตายจะชักปืนออกมายิงทำร้ายจำเลย และไม่ปรากฏว่าผู้ตายมีอาวุธปืน จึงถือว่ายังไม่มีภยันตรายที่จำเลยจำต้องป้องกันแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการป้องกันตามกฎหมาย






เป็นเนื้อหาบางส่วนที่นำมาจากหนังสือคำอธิบายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป หากต้องการอ่านทั้งหมดสามารถซื้อได้ตามลิ้งด้านล่างครับ


คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
กฎหมายอาญาเบื้องต้น คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป อ่านเข้าใจง่าย ใช้เวลาไม่นานในการอ่านก็เข้าใจกฎหมายอาญาได้


ถาม-ตอบ กฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือถาม-ตอบ กฎหมายอาญาภาคทั่วไปจัดทำขึ้นมาโดยประสงค์จะให้นิสิต นักศึกษา รวมถึงผู้ที่สนใจกฎหมายอาญาภาคทั่วไปได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับกฎหมายอาญาภาคทั่วไป ซึ่งคำถามทั้งหมดครอบคลุมเนื้อหากฎหมายอาญาภาคทั่วไป ผู้เขียนตั้งใจเขียนให้อ่านเข้าใจง่าย เป็นการตั้งคำถามและอธิบายหลักการตามกฎหมาย รวมถึงมีการยกตัวอย่างเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนกฎหมายอาญา

บทที่ 7 ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล


บทที่ 7
ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล

ความผิดอาญาทุกฐานความผิด ไม่ว่าจะเป็นความผิดในประมวลกฎหมายอาญา หรือกฎหมายอาญาอื่น ต้องมีองค์ประกอบความผิด (Element of Crime) เสมอ เพราะบุคคลจะมีความรับผิดทางอาญาได้นั้นต้องมีการกระทำครบองค์ประกอบความผิดในแต่ละฐานนั้น โดยพิจารณาองค์ประกอบความผิดตามโครงสร้างความรับผิดทางอาญาดังต่อไปนี้
            1) การกระทำ
          2) การกระทำครบองค์ประกอบความผิด
          3) ผลของการกระทำมีความสัมพันธ์กับการกระทำ (causation)
            เมื่อได้พิจารณาผ่านทั้ง 3 ส่วนนี้แล้วถือว่า ผ่านโครงสร้างความรับผิดทางอาญาโครงสร้างที่ 1 ซึ่งจะพิจารณาในโครงสร้างที่ 2 ต่อไป การพิจารณาในส่วนที่ 3 ต้องผ่านครบองค์ประกอบความผิดทั้งภายนอกและภายในแล้ว จึงจะมาพิจารณาว่าผลกับการกระทำสัมพันธ์กันหรือไม่[1]
1. ความสำคัญของหลักความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล
บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาได้ต่อเมื่อเขาได้กระทำอันเป็นความผิดกฎหมาย หากเขาไม่ได้กระทำหรือไม่ได้เป็นผู้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น เขาก็ไม่ต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้นนั้น ดังนั้นผลที่เกิดขึ้นต้องมีความสัมพันธ์กับการกระทำของผู้กระทำด้วย เช่น นายแดงใช้ปืนยิงนายดำ นายดำได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตในอีก 2 วันต่อมา แม้นายดำจะไม่ได้ตายทันที แต่ความตายก็เป็นผลมากการกระทำของนายแดง ดังนั้นผลและการกระทำจึงมีความสัมพันธ์กัน นายแดงก็ต้องรับผิดในความตายของนายดำ ซึ่งหลักในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล ตำรากฎหมายที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษใช้คำว่า “causation[2]
     


เป็นเนื้อหาบางส่วนที่นำมาจากหนังสือคำอธิบายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป หากต้องการอ่านทั้งหมดสามารถซื้อได้ตามลิ้งด้านล่างครับ


คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
กฎหมายอาญาเบื้องต้น คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป อ่านเข้าใจง่าย ใช้เวลาไม่นานในการอ่านก็เข้าใจกฎหมายอาญาได้



ถาม-ตอบ กฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือถาม-ตอบ กฎหมายอาญาภาคทั่วไปจัดทำขึ้นมาโดยประสงค์จะให้นิสิต นักศึกษา รวมถึงผู้ที่สนใจกฎหมายอาญาภาคทั่วไปได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับกฎหมายอาญาภาคทั่วไป ซึ่งคำถามทั้งหมดครอบคลุมเนื้อหากฎหมายอาญาภาคทั่วไป ผู้เขียนตั้งใจเขียนให้อ่านเข้าใจง่าย เป็นการตั้งคำถามและอธิบายหลักการตามกฎหมาย รวมถึงมีการยกตัวอย่างเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนกฎหมายอาญา

บทที่ 6 ความรับผิดโดยประมาท




บทที่ 6
ความรับผิดโดยประมาท




1. แนวความคิดเกี่ยวกับความรับผิดโดยประมาท

แนวความคิดเกี่ยวกับความรับผิดจากการกระทำโดยประมาท ความรับผิดทางอาญาจากการกระทำโดยประมาท ซึ่งในมาตรา 59 ได้บัญญัติไว้ว่า “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำ โดยเจตนาเว้นแต่จะได้กระทำความโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา”

          โดยปกติแล้วความรับผิดทางอาญานั้นเกิดขึ้นโดยการกระทำโดยเจตนาของบุคคล เนื่องจากการกระทำโดยเจตนาเป็นการบ่งบอกถึงจิตใจที่ชั่วร้ายของผู้กระทำ สมควรที่จะต้องถูกลงโทษให้สาสมกับจิตใจที่ชั่วร้ายนั้น เช่น คนที่เจตนาทำร้ายผู้อื่นสมควรถูกลงโทษ เพราะการทำร้ายผู้อื่นนั้นถือว่าผู้กระทำมีจิตใจที่ชั่วร้ายและได้แสดงออกโดยผ่านการกระทำโดยเจตนานั้นเอง แต่ในบางกรณีที่ก็สมควรลงโทษผู้ที่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น เช่น เป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ แม้การกระทำดังกล่าวของเขานั้นจะไม่ได้กระทำโดยเจตนาเลยก็ตาม ซึ่งเรียกการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังเช่นนี้ว่า “ประมาท”



2. ความหมายของประมาท

          ความหมายของการกระทำโดยประมาทนั้นได้ถูกนิยามไว้ใน ม. 59 วรรคสี่ “กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่” จะเห็นได้ว่าจากความหมายของการกระทำโดยประมาทตามมาตรา 59 วรรคสี่กฎหมายไทยไม่ได้แยกพิจารณาถึงระดับของความประมาท เหมือนกฎหมายอาญาของบางประเทศที่แยกพิจารณาถึงระดับของความประมาทของผู้กระทำด้วย เช่น ประมาทโดยรู้ตัว หรือประมาทโดยความพลั้งเผลอ แต่ตามประมวลกฎหมายของไทยมีเพียงประมาทเลินเล่อเท่านั้น ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นประมาทประเภทใดตามกฎหมายไทยก็ลงโทษเช่นเดียวกัน หากผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำโดยประมาทนั้นเหมือนกัน[1]

3. หลักเกณฑ์ของการกระทำโดยประมาท

          1. เป็นการกระทำที่ไม่ใช่โดยเจตนา ซึ่งหมายถึง ผู้กระทำต้องไม่มีเจตนากระทำผิดเลย ต้องไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด หรือหากรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดผู้กระทำต้องไม่ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำ เพราะหากเป็นการกระทำโดยเจตนาแล้ว ย่อมไม่ต้องรับผิดโดยประมาทอีก[2] ดังนั้นต้องพิจารณาอย่างระมัดระวังระหว่าง เจตนาประเภทเล็งเห็นผลกับการกระทำโดยประมาท ซึ่งมีความใกล้เคียงกัน เช่น นายแดงขับรถมาด้วยความเร็วเห็นคนกำลังเดินข้ามถนนบนทางม้าลาย นายแดงก็ไม่เหยียบเบรกเพียงแต่บีบแตรไล่โดยคิดว่าคนที่กำลังข้ามถนนนั้นจะกระโดดหลบ แต่ปรากฏว่าคนที่กำลังข้ามถนนหลบไม่ทันจึงทำให้ถูกรถของนายแดงชนจนถึงแก่ความตาย ดังนี้การกระทำของนายแดงเป็นการกระทำโดยเจตนาประเภทเล็งเห็นผล ไม่ใช่การกระทำโดยประมาท


เป็นเนื้อหาบางส่วนที่นำมาจากหนังสือคำอธิบายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป หากต้องการอ่านทั้งหมดสามารถซื้อได้ตามลิ้งด้านล่างครับ


คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
กฎหมายอาญาเบื้องต้น คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป อ่านเข้าใจง่าย ใช้เวลาไม่นานในการอ่านก็เข้าใจกฎหมายอาญาได้


ถาม-ตอบ กฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือถาม-ตอบ กฎหมายอาญาภาคทั่วไปจัดทำขึ้นมาโดยประสงค์จะให้นิสิต นักศึกษา รวมถึงผู้ที่สนใจกฎหมายอาญาภาคทั่วไปได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับกฎหมายอาญาภาคทั่วไป ซึ่งคำถามทั้งหมดครอบคลุมเนื้อหากฎหมายอาญาภาคทั่วไป ผู้เขียนตั้งใจเขียนให้อ่านเข้าใจง่าย เป็นการตั้งคำถามและอธิบายหลักการตามกฎหมาย รวมถึงมีการยกตัวอย่างเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนกฎหมายอาญา

บทที่ 5 ความรับผิดโดยเจตนา


บทที่ 5
ความรับผิดโดยเจตนา




เมื่อพิจารณาการกระทำตามโครงสร้างความรับผิดทางอาญา โครงสร้างข้อที่ 1 การกระทำครบองค์ประกอบความผิด ซึ่งแยกพิจารณาออกเป็นสองส่วน คือ การกระทำครบองค์ประกอบภายนอก และการกระทำครบองค์ประกอบภายใน เมื่อการกระทำนั้นครบองค์ประกอบภายนอกแล้ว (มีผู้กระทำ การกระทำ และวัตถุแห่งการกระทำ) สิ่งที่เราจะพิจารณาต่อไป คือ การกระทำนั้นครบองค์ประกอบภายในความผิดฐานนั้นหรือไม่ ซึ่งความผิดอาญาแต่ละฐานความผิดล้วนต้องมีองค์ประกอบภายใน เว้นแต่ความผิดที่เป็นความรับผิดเสร็จเด็ดขาด (Strict liability) ซึ่งต้องรับผิดแม้ไม่เจตนาและประมาท[1]

องค์ประกอบภายใน (Internal elements) หมายถึงองค์ประกอบที่ไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก เพราะเป็นส่วนที่อยู่ในจิตใจของผู้กระทำความผิด[2] ซึ่งเราจะพิจารณาส่วนที่อยู่ในจิตใจนี้ได้จากการกระทำ โดยอาศัยหลักการที่ว่าการกระทำเป็นสิ่งที่บกบอกจิตใจของผู้กระทำ หรือ กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา โดยที่องค์ประกอบภายในนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ เจตนาและประมาท

          ตาม มาตรา 59 วรรคแรก “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนาเว้นแต่จะได้กระทำความโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมาย บัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา” ดังนั้นบุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาก็ต่อเมื่อ

          1. กระทำโดยเจตนา

          2. กระทำความโดยประมาท

          3. กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา หรือความรับผิดเด็ดขาด (strict liability)



ตัวอย่างของความรับผิดทางอาญาของบุคคล

          1. ความรับผิดจากการกระทำโดยเจตนา เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาตาม ม. 288 ความผิดฐานลักทรัพย์ ตาม ม. 334 ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่น ตาม ม. 276

          2. ความรับผิดจากการกระทำประมาท เช่น ความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตาม ม. 291 ความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ตาม ม. 300

          3. ความรับผิดจากการกระทำที่ไม่มีเจตนาและไม่ได้ประมาท เช่น ความผิดฐานทำให้รางระบายน้ำ ร่องน้ำหรือท่อระบายขัดข้อง ตาม ม. 375 ความผิดฐานให้เกิดปฏิกูลแก่น้ำในบ่อ สระหรือที่ขังน้ำ ตาม ม. 380


ประเภทของเจตนา[3]

          1. เจตนาตามความเป็นจริง (intention)

          2. เจตนาโดยผลของกฎหมาย (transfer intention)



เป็นเนื้อหาบางส่วนที่นำมาจากหนังสือคำอธิบายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป หากต้องการอ่านทั้งหมดสามารถซื้อได้ตามลิ้งด้านล่างครับ


คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
กฎหมายอาญาเบื้องต้น คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป อ่านเข้าใจง่าย ใช้เวลาไม่นานในการอ่านก็เข้าใจกฎหมายอาญาได้


ถาม-ตอบ กฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือถาม-ตอบ กฎหมายอาญาภาคทั่วไปจัดทำขึ้นมาโดยประสงค์จะให้นิสิต นักศึกษา รวมถึงผู้ที่สนใจกฎหมายอาญาภาคทั่วไปได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับกฎหมายอาญาภาคทั่วไป ซึ่งคำถามทั้งหมดครอบคลุมเนื้อหากฎหมายอาญาภาคทั่วไป ผู้เขียนตั้งใจเขียนให้อ่านเข้าใจง่าย เป็นการตั้งคำถามและอธิบายหลักการตามกฎหมาย รวมถึงมีการยกตัวอย่างเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนกฎหมายอาญา

บทที่ 4 การกระทำครบองค์ประกอบภายนอก



บทที่ 4
การกระทำครบองค์ประกอบความผิด


ความผิดอาญาแต่ละฐานความผิดล้วนต้องมีองค์ประกอบความผิดเสมอ ถ้าไม่ครบองค์ประกอบข้อใดข้อหนึ่งในความผิดฐานนั้นแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดอาญา โดยที่องค์ประกอบความผิดแต่ละฐานนั้น ต้องแยกพิจารณา 2 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่ภายนอกเรียกว่า “องค์ประกอบภายนอก” และส่วนที่อยู่ภายในจิตใจของผู้กระทำ เรียกว่า “องค์ประกอบภายใน[1]
องค์ประกอบภายนอก องค์ประกอบที่อยู่ภายนอกของความผิดแต่ละฐาน สามารถพิจารณาและเห็นได้จากภายนอก โดยความผิดแต่ละฐานจะมีองค์ประกอบภายนอก คือ ผู้กระทำความผิด การกระทำความผิด และวัตถุแห่งการกระทำความผิด ซึ่งจะอธิบายต่อไป
องค์ประกอบภายใน หมายถึง องค์ประกอบที่ไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก เพราะเป็นส่วนที่อยู่ในจิตใจของผู้กระทำ ซึ่งเราจะพิจารณาส่วนที่ อยู่ในจิตใจนี้ได้จากการกระทำ โดยหลักการที่ว่า "กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา" องค์ประกอบภายในได้แก่ เจตนาและประมาท
1. องค์ประกอบภายนอก
          1) ผู้กระทำ
          2) การกระทำ
          3) วัตถุแห่งการกระทำ

ตัวอย่างที่ 1 ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ตามมาตรา 288 "ผู้ใดฆ่าผู้อื่นต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี“
องค์ประกอบภายนอกความผิดฐานนี้คือ
1) ผู้กระทำ คือ ผู้ใด 2) การกระทำ คือ ฆ่า และ3) วัตถุแห่งการกระทำ คือ ผู้อื่น
          ตัวอย่างที่ 2 ความผิดฐานลักทรัพย์ ตามมาตรา 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินสามปีและปรับไม่เกินหกพันบาท
1) ผู้กระทำ คือ ผู้ใด 2) การกระทำ คือ เอาไป และ3) วัตถุแห่งการกระทำ คือ ทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่น เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย
          ตัวอย่างที่ 3 ความผิดฐานทำให้แท้งลูก ตามมาตรา 301 หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
1) ผู้กระทำ คือ หญิงใด 2) การกระทำ คือ ทำให้แท้งลูกหรือยินยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก และ 3) วัตถุแห่งการกระทำ คือ ชีวิตในครรภ์
          จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบภายนอกทั้ง 3 องค์ประกอบคือ ผู้กระทำ การกระทำวัตถุแห่งการกระทำ นั้นสามารถพิจารณาได้จากบทบัญญัติ ของมาตรานั้น ๆ ว่าบัญญัติไว้อย่างไร ซึ่งถ้าหากพิจารณาแล้ว ครบองค์ประกอบทั้ง 3 องค์ประกอบแสดงว่า การกระทำนั้น ครบองค์ประกอบภายนอก และค่อยจึงค่อยพิจารณาองค์ประกอบภายในต่อไป
1. ผู้กระทำ
ความรับผิดในทางอาญาเกิดขึ้นได้แก่บุคคลเท่านั้น สัตว์และสิ่งของ ย่อมไม่อาจ เป็นผู้กระทำผิดได้ บุคคลที่เป็นมนุษย์และนิติบุคคลก็สามารถกระทำผิดได้ ความผิดอาญาส่วนใหญ่ ไม่ได้จำกัดผู้กระทำผิดว่าหมายถึงใคร มักจะใช้คำว่า “ผู้ใด” Whoever เว้นแต่ความผิดบางฐาน เช่น ความผิดฐานทำให้แท้งลูกผู้กระทำต้องเป็นหญิงเท่านั้น ความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบผู้กระทำต้องเป็นเจ้าพนักงานเท่านั้น

          ผู้กระทำความผิดอาญา แยกออกเป็น 3 ประเภท[2]
                   1. ผู้กระทำผิดเอง
                   2. ผู้กระทำผิดโดยอ้อม
                   3. ผู้ร่วมในการกระทำความผิด (Parties to Crime)

          1.1 ผู้กระทำผิดเอง หมายถึงผู้นั้นได้กระทำผิดเองโดยตรง (Direct) เช่น ใช้มีดฟัน ใช้ปืนยิงเอง เอาทรัพย์ของผู้อื่นไปเอง หรือการใช้สัตว์เป็นเครื่องมือในการกระทำผิด เช่น ใช้สุนัขที่เลี้ยงไว้ไปคาบ เอากระเป๋าเงินของคนอื่น หรือการใช้บุคคลผู้ไม่มีการกระทำเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด[3] เช่น สะกดจิตใช้ให้ไปฆ่าคน หรือขณะที่ขาวเผลอ แดงจับมือขาวเขกหัวดำ
   


เป็นเนื้อหาบางส่วนที่นำมาจากหนังสือคำอธิบายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป หากต้องการอ่านทั้งหมดสามารถซื้อได้ตามลิ้งด้านล่างครับ


คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
กฎหมายอาญาเบื้องต้น คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป อ่านเข้าใจง่าย ใช้เวลาไม่นานในการอ่านก็เข้าใจกฎหมายอาญาได้



ถาม-ตอบ กฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือถาม-ตอบ กฎหมายอาญาภาคทั่วไปจัดทำขึ้นมาโดยประสงค์จะให้นิสิต นักศึกษา รวมถึงผู้ที่สนใจกฎหมายอาญาภาคทั่วไปได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับกฎหมายอาญาภาคทั่วไป ซึ่งคำถามทั้งหมดครอบคลุมเนื้อหากฎหมายอาญาภาคทั่วไป ผู้เขียนตั้งใจเขียนให้อ่านเข้าใจง่าย เป็นการตั้งคำถามและอธิบายหลักการตามกฎหมาย รวมถึงมีการยกตัวอย่างเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนกฎหมายอาญา

บทที่ 3 การใช้กฎหมายอาญาบังคับ


บทที่ 3การใช้กฎหมายอาญาบังคับ


1 แนวความคิดเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
มีปัญหาให้พิจารณาว่าหากมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น กฎหมายอาญาของไทยจะมีอำนาจเหนือคดีนั้นแค่ไหน รัฐมีอำนาจบัญญัติให้การกระทำใดหรือไม่กระทำการใดเป็นความผิด แต่กฎหมายของรัฐจะสามารถใช้บังคับได้เพียงใดและทุกกรณีหรือไม่ ซึ่งกฎหมายอาญาที่รัฐบัญญัติขึ้นมาโดยหลักแล้วย่อมใช้บังคับได้ในรัฐเท่านั้น ไม่อาจจะนำไปบังคับใช้เหนือรัฐอื่นได้ ซึ่งเป็นไปตามหลักอธิปไตยของแต่ละรัฐ ความผิดอาญานั้นหากได้กระทำในประเทศไทยก็ย่อมสามารถใช้กฎหมายอาญาของไทยบังคับได้ แต่ในบางกรณีความผิดอาญานั้นได้กระทำนอกราชอาณาจักร ก็มีปัญหาว่าจะใช้กฎหมายอาญาของไทยบังคับได้หรือไม่ ซึ่งกฎหมายที่กำหนดว่าประเทศไทยจะมีอำนาจเหนือคดีอาญานั้นหรือไม่ คือ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา[1]
          กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา ไม่ใช่กฎหมายระหว่างประเทศ แต่เป็นกฎหมายภายใน เพราะเป็นกฎหมายว่าด้วยการใช้กฎหมายอาญาของรัฐ การจะบัญญัติกฎหมายอาญาเพื่อละเมิดอำนาจอธิปไตยของรัฐอื่น ไม่สามารถทำได้ ซึ่งการบัญญัติกฎหมายอาญาของรัฐต้องคำนึงถึงจุดเกาะเกี่ยวกับรัฐ ซึ่งจุดเกาะเกี่ยวอันจะทำให้รัฐมีอำนาจเหนือคดีอาญานั้นได้มีดังต่อไปนี้


2 จุดเกาะเกี่ยวที่ทำให้ประเทศไทยมีอำนาจเหนือคดีอาญา
1) หลักดินแดน (Territorial principle) 
          หลักดินแดนนี้มีมาจากรัฐแต่ละรัฐย่อมมีอำนาจอธิปไตยและใช้กฎหมายเหนือดินแดนของรัฐนั้น[2] ซึ่งพิจารณาจากสถานที่ความผิดได้เกิดขึ้น โดยถือเอาเอาอาณาเขตของรัฐเป็นจุดเกาะเกี่ยว[3] หากเกิดขึ้นในราชอาณาจักรไทยแล้วย่อมลงโทษผู้กระทำความผิดตามกฎหมายอาญาไทยได้ ซึ่งราชอาณาจักรไทย หมายถึง พื้นดิน พื้นน้ำ รวมถึงอากาศเหนือพื้นดินพื้นน้ำนั้นด้วย หลักดินแดนนี้ยังขยายอำนาจของศาลไทยออกไปอีก ความผิดทั้งหมดไม่ต้องเกิดขึ้นในราชอาณาจักรไทย เพียงแค่ส่วนใดส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับประเทศไทย เช่น เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของการกระทำความผิดได้กระทำในราชอาณาจักรไทย หรือสถานที่ผลของการกระทำความผิดได้เกิดขึ้น กฎหมายอาญาไทยก็มีอำนาจเหนือคดีนั้น ตาม "ทฤษฎีรวมสถานที่เกิดเหตุ"
          ความผิดที่กระทำในราชอาณาจักร มาตรา 4 “ผู้ใดกระทำความผิดในราชอาณาจักร ต้องรับโทษตามกฎหมาย”
ราชอาณาจักร หมายถึงดินแดนของประเทศไทย ซึ่งดินแดนของประเทศไทยพิจารณาตามหลักดินแดนดังนี้
1. พื้นดิน พื้นน้ำ ลำคลอง ที่อยู่ภายในเส้นเขตแดนของไทย รวมถึงเกาะด้วย
2. ทะเลอาณาเขต หมายถึง ท้องทะเลที่ติดกับเส้นเขตแดนของรัฐ วัดห่างออกไปจากฝั่ง 12 ไมล์ทะเล
3. พื้นอากาศ (Air Space) ที่อยู่เหนือข้อที่ 1 และ 2 ก็ถือว่าเป็นดินแดนของประเทศไทยด้วย
ซึ่งความผิดที่กระทำในราชอาณาจักรตามมาตรา 4 วรรคแรก หมายถึงการกระทำความผิดทั้งหมดเกิดขึ้นในราชอาณาจักร[4] แต่ไม่รวมถึงกรณีที่ผลของการกระทำเกิดขึ้นในราชอาณาจักร แต่ได้กระทำนอกราชอาณาจักร เช่น แดงยิงดำในประเทศไทย แต่ไม่ตาย ไปรักษาตัวอยู่ที่ประเทศมาเลเซียแล้วตายที่มาเลเซีย กรณีเช่นนี้ย่อมใช้กฎหมายอาญาของไทยบังคับได้ เพราะเป็นการกระทำความผิดในราชอาณาจักรทั้งหมด เพียงแต่ผลไปเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรเท่านั้น หรือกรณีที่แดงยืนอยู่ฝั่งไทย ยกปืนเล็งจะยิงดำซึ่งยื่นอยู่ฝั่งพม่า แต่ถูกตำรวจจับเสียก่อนไม่ทันได้ยิง ดังนี้แดงก็มีควาผิดฐานพยายามฆ่าและต้องรับโทษในราชอาณาจักรแล้ว เพราะการกระทำความผิดทั้งหมดเกิดขึ้นในราชอาณาจักร[5]


เป็นเนื้อหาบางส่วนที่นำมาจากหนังสือคำอธิบายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป หากต้องการอ่านทั้งหมดสามารถซื้อได้ตามลิ้งด้านล่างครับ


คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
กฎหมายอาญาเบื้องต้น คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป อ่านเข้าใจง่าย ใช้เวลาไม่นานในการอ่านก็เข้าใจกฎหมายอาญาได้


ถาม-ตอบ กฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือถาม-ตอบ กฎหมายอาญาภาคทั่วไปจัดทำขึ้นมาโดยประสงค์จะให้นิสิต นักศึกษา รวมถึงผู้ที่สนใจกฎหมายอาญาภาคทั่วไปได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับกฎหมายอาญาภาคทั่วไป ซึ่งคำถามทั้งหมดครอบคลุมเนื้อหากฎหมายอาญาภาคทั่วไป ผู้เขียนตั้งใจเขียนให้อ่านเข้าใจง่าย เป็นการตั้งคำถามและอธิบายหลักการตามกฎหมาย รวมถึงมีการยกตัวอย่างเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนกฎหมายอาญา