วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 5 ความรับผิดโดยเจตนา


บทที่ 5
ความรับผิดโดยเจตนา




เมื่อพิจารณาการกระทำตามโครงสร้างความรับผิดทางอาญา โครงสร้างข้อที่ 1 การกระทำครบองค์ประกอบความผิด ซึ่งแยกพิจารณาออกเป็นสองส่วน คือ การกระทำครบองค์ประกอบภายนอก และการกระทำครบองค์ประกอบภายใน เมื่อการกระทำนั้นครบองค์ประกอบภายนอกแล้ว (มีผู้กระทำ การกระทำ และวัตถุแห่งการกระทำ) สิ่งที่เราจะพิจารณาต่อไป คือ การกระทำนั้นครบองค์ประกอบภายในความผิดฐานนั้นหรือไม่ ซึ่งความผิดอาญาแต่ละฐานความผิดล้วนต้องมีองค์ประกอบภายใน เว้นแต่ความผิดที่เป็นความรับผิดเสร็จเด็ดขาด (Strict liability) ซึ่งต้องรับผิดแม้ไม่เจตนาและประมาท[1]

องค์ประกอบภายใน (Internal elements) หมายถึงองค์ประกอบที่ไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก เพราะเป็นส่วนที่อยู่ในจิตใจของผู้กระทำความผิด[2] ซึ่งเราจะพิจารณาส่วนที่อยู่ในจิตใจนี้ได้จากการกระทำ โดยอาศัยหลักการที่ว่าการกระทำเป็นสิ่งที่บกบอกจิตใจของผู้กระทำ หรือ กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา โดยที่องค์ประกอบภายในนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ เจตนาและประมาท

          ตาม มาตรา 59 วรรคแรก “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนาเว้นแต่จะได้กระทำความโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมาย บัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา” ดังนั้นบุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาก็ต่อเมื่อ

          1. กระทำโดยเจตนา

          2. กระทำความโดยประมาท

          3. กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา หรือความรับผิดเด็ดขาด (strict liability)



ตัวอย่างของความรับผิดทางอาญาของบุคคล

          1. ความรับผิดจากการกระทำโดยเจตนา เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาตาม ม. 288 ความผิดฐานลักทรัพย์ ตาม ม. 334 ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่น ตาม ม. 276

          2. ความรับผิดจากการกระทำประมาท เช่น ความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตาม ม. 291 ความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ตาม ม. 300

          3. ความรับผิดจากการกระทำที่ไม่มีเจตนาและไม่ได้ประมาท เช่น ความผิดฐานทำให้รางระบายน้ำ ร่องน้ำหรือท่อระบายขัดข้อง ตาม ม. 375 ความผิดฐานให้เกิดปฏิกูลแก่น้ำในบ่อ สระหรือที่ขังน้ำ ตาม ม. 380


ประเภทของเจตนา[3]

          1. เจตนาตามความเป็นจริง (intention)

          2. เจตนาโดยผลของกฎหมาย (transfer intention)



เป็นเนื้อหาบางส่วนที่นำมาจากหนังสือคำอธิบายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป หากต้องการอ่านทั้งหมดสามารถซื้อได้ตามลิ้งด้านล่างครับ


คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
กฎหมายอาญาเบื้องต้น คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป อ่านเข้าใจง่าย ใช้เวลาไม่นานในการอ่านก็เข้าใจกฎหมายอาญาได้


ถาม-ตอบ กฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือถาม-ตอบ กฎหมายอาญาภาคทั่วไปจัดทำขึ้นมาโดยประสงค์จะให้นิสิต นักศึกษา รวมถึงผู้ที่สนใจกฎหมายอาญาภาคทั่วไปได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับกฎหมายอาญาภาคทั่วไป ซึ่งคำถามทั้งหมดครอบคลุมเนื้อหากฎหมายอาญาภาคทั่วไป ผู้เขียนตั้งใจเขียนให้อ่านเข้าใจง่าย เป็นการตั้งคำถามและอธิบายหลักการตามกฎหมาย รวมถึงมีการยกตัวอย่างเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนกฎหมายอาญา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น