วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 7 ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล


บทที่ 7
ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล

ความผิดอาญาทุกฐานความผิด ไม่ว่าจะเป็นความผิดในประมวลกฎหมายอาญา หรือกฎหมายอาญาอื่น ต้องมีองค์ประกอบความผิด (Element of Crime) เสมอ เพราะบุคคลจะมีความรับผิดทางอาญาได้นั้นต้องมีการกระทำครบองค์ประกอบความผิดในแต่ละฐานนั้น โดยพิจารณาองค์ประกอบความผิดตามโครงสร้างความรับผิดทางอาญาดังต่อไปนี้
            1) การกระทำ
          2) การกระทำครบองค์ประกอบความผิด
          3) ผลของการกระทำมีความสัมพันธ์กับการกระทำ (causation)
            เมื่อได้พิจารณาผ่านทั้ง 3 ส่วนนี้แล้วถือว่า ผ่านโครงสร้างความรับผิดทางอาญาโครงสร้างที่ 1 ซึ่งจะพิจารณาในโครงสร้างที่ 2 ต่อไป การพิจารณาในส่วนที่ 3 ต้องผ่านครบองค์ประกอบความผิดทั้งภายนอกและภายในแล้ว จึงจะมาพิจารณาว่าผลกับการกระทำสัมพันธ์กันหรือไม่[1]
1. ความสำคัญของหลักความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล
บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาได้ต่อเมื่อเขาได้กระทำอันเป็นความผิดกฎหมาย หากเขาไม่ได้กระทำหรือไม่ได้เป็นผู้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น เขาก็ไม่ต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้นนั้น ดังนั้นผลที่เกิดขึ้นต้องมีความสัมพันธ์กับการกระทำของผู้กระทำด้วย เช่น นายแดงใช้ปืนยิงนายดำ นายดำได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตในอีก 2 วันต่อมา แม้นายดำจะไม่ได้ตายทันที แต่ความตายก็เป็นผลมากการกระทำของนายแดง ดังนั้นผลและการกระทำจึงมีความสัมพันธ์กัน นายแดงก็ต้องรับผิดในความตายของนายดำ ซึ่งหลักในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล ตำรากฎหมายที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษใช้คำว่า “causation[2]
     


เป็นเนื้อหาบางส่วนที่นำมาจากหนังสือคำอธิบายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป หากต้องการอ่านทั้งหมดสามารถซื้อได้ตามลิ้งด้านล่างครับ


คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
กฎหมายอาญาเบื้องต้น คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป อ่านเข้าใจง่าย ใช้เวลาไม่นานในการอ่านก็เข้าใจกฎหมายอาญาได้



ถาม-ตอบ กฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือถาม-ตอบ กฎหมายอาญาภาคทั่วไปจัดทำขึ้นมาโดยประสงค์จะให้นิสิต นักศึกษา รวมถึงผู้ที่สนใจกฎหมายอาญาภาคทั่วไปได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับกฎหมายอาญาภาคทั่วไป ซึ่งคำถามทั้งหมดครอบคลุมเนื้อหากฎหมายอาญาภาคทั่วไป ผู้เขียนตั้งใจเขียนให้อ่านเข้าใจง่าย เป็นการตั้งคำถามและอธิบายหลักการตามกฎหมาย รวมถึงมีการยกตัวอย่างเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนกฎหมายอาญา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น