วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 6 ความรับผิดโดยประมาท




บทที่ 6
ความรับผิดโดยประมาท




1. แนวความคิดเกี่ยวกับความรับผิดโดยประมาท

แนวความคิดเกี่ยวกับความรับผิดจากการกระทำโดยประมาท ความรับผิดทางอาญาจากการกระทำโดยประมาท ซึ่งในมาตรา 59 ได้บัญญัติไว้ว่า “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำ โดยเจตนาเว้นแต่จะได้กระทำความโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา”

          โดยปกติแล้วความรับผิดทางอาญานั้นเกิดขึ้นโดยการกระทำโดยเจตนาของบุคคล เนื่องจากการกระทำโดยเจตนาเป็นการบ่งบอกถึงจิตใจที่ชั่วร้ายของผู้กระทำ สมควรที่จะต้องถูกลงโทษให้สาสมกับจิตใจที่ชั่วร้ายนั้น เช่น คนที่เจตนาทำร้ายผู้อื่นสมควรถูกลงโทษ เพราะการทำร้ายผู้อื่นนั้นถือว่าผู้กระทำมีจิตใจที่ชั่วร้ายและได้แสดงออกโดยผ่านการกระทำโดยเจตนานั้นเอง แต่ในบางกรณีที่ก็สมควรลงโทษผู้ที่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น เช่น เป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ แม้การกระทำดังกล่าวของเขานั้นจะไม่ได้กระทำโดยเจตนาเลยก็ตาม ซึ่งเรียกการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังเช่นนี้ว่า “ประมาท”



2. ความหมายของประมาท

          ความหมายของการกระทำโดยประมาทนั้นได้ถูกนิยามไว้ใน ม. 59 วรรคสี่ “กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่” จะเห็นได้ว่าจากความหมายของการกระทำโดยประมาทตามมาตรา 59 วรรคสี่กฎหมายไทยไม่ได้แยกพิจารณาถึงระดับของความประมาท เหมือนกฎหมายอาญาของบางประเทศที่แยกพิจารณาถึงระดับของความประมาทของผู้กระทำด้วย เช่น ประมาทโดยรู้ตัว หรือประมาทโดยความพลั้งเผลอ แต่ตามประมวลกฎหมายของไทยมีเพียงประมาทเลินเล่อเท่านั้น ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นประมาทประเภทใดตามกฎหมายไทยก็ลงโทษเช่นเดียวกัน หากผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำโดยประมาทนั้นเหมือนกัน[1]

3. หลักเกณฑ์ของการกระทำโดยประมาท

          1. เป็นการกระทำที่ไม่ใช่โดยเจตนา ซึ่งหมายถึง ผู้กระทำต้องไม่มีเจตนากระทำผิดเลย ต้องไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด หรือหากรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดผู้กระทำต้องไม่ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำ เพราะหากเป็นการกระทำโดยเจตนาแล้ว ย่อมไม่ต้องรับผิดโดยประมาทอีก[2] ดังนั้นต้องพิจารณาอย่างระมัดระวังระหว่าง เจตนาประเภทเล็งเห็นผลกับการกระทำโดยประมาท ซึ่งมีความใกล้เคียงกัน เช่น นายแดงขับรถมาด้วยความเร็วเห็นคนกำลังเดินข้ามถนนบนทางม้าลาย นายแดงก็ไม่เหยียบเบรกเพียงแต่บีบแตรไล่โดยคิดว่าคนที่กำลังข้ามถนนนั้นจะกระโดดหลบ แต่ปรากฏว่าคนที่กำลังข้ามถนนหลบไม่ทันจึงทำให้ถูกรถของนายแดงชนจนถึงแก่ความตาย ดังนี้การกระทำของนายแดงเป็นการกระทำโดยเจตนาประเภทเล็งเห็นผล ไม่ใช่การกระทำโดยประมาท


เป็นเนื้อหาบางส่วนที่นำมาจากหนังสือคำอธิบายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป หากต้องการอ่านทั้งหมดสามารถซื้อได้ตามลิ้งด้านล่างครับ


คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
กฎหมายอาญาเบื้องต้น คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป อ่านเข้าใจง่าย ใช้เวลาไม่นานในการอ่านก็เข้าใจกฎหมายอาญาได้


ถาม-ตอบ กฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือถาม-ตอบ กฎหมายอาญาภาคทั่วไปจัดทำขึ้นมาโดยประสงค์จะให้นิสิต นักศึกษา รวมถึงผู้ที่สนใจกฎหมายอาญาภาคทั่วไปได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับกฎหมายอาญาภาคทั่วไป ซึ่งคำถามทั้งหมดครอบคลุมเนื้อหากฎหมายอาญาภาคทั่วไป ผู้เขียนตั้งใจเขียนให้อ่านเข้าใจง่าย เป็นการตั้งคำถามและอธิบายหลักการตามกฎหมาย รวมถึงมีการยกตัวอย่างเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนกฎหมายอาญา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น