วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 8 เหตุยกเว้นความผิด




บทที่ 8 
เหตุยกเว้นความผิด



1. แนวความคิดเกี่ยวกับการยกเว้นความผิด

เหตุยกเว้นความผิดคือ เหตุที่ทำให้การกระทำความผิดอาญาที่ผ่านโครงสร้างความรับผิดทางอาญาโครงสร้างที่ 1 มาแล้วนั้น ไม่มีความผิด ผู้กระทำจึงไม่ต้องรับผิดทางอาญาสำหรับการกระทำนั้น ๆ ซึ่งการที่กฎหมายยกเว้นความรับผิดให้เพราะการกระทำดังกล่าว เป็นเรื่องที่ผู้กระทำมีความชอบธรรมที่จะกระทำได้โดยไม่ควรต้องมีความรับผิดทางอาญา โดยเหตุยกเว้นความรับผิดทางอาญามีหลายเหตุ แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงแต่เพียงการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย และความยินยอมเท่านั้น

2. เหตุยกเว้นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา

1) การกระทำโดยการป้องกัน ม.68 (Lawful Defense)

            เหตุผลที่กฎหมายอาญายอมให้บุคคลที่กระทำอันเป็นความผิดอาญาสามารถอ้างป้องกันตัวได้ เพราะว่ารัฐไม่สามารถให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนของรัฐได้อย่างทันท่วงทีและตลอดเวลา รัฐจึงให้สิทธิป้องกันตัวแก่ประชาชน โดยการกระทำของประชาชนนั้นแม้จะครบองค์ประกอบความผิดหรือผ่านโครงสร้างทางอาญาโครงสร้างที่ 1 มาแล้วก็ตาม ประชาชนก็มีความชอบธรรมในการป้องกันตนเองหรือผู้อื่นให้พ้นจากภยันตรายอันจะเกิดขึ้นกับตัวเองหรือผู้อื่นให้พ้นจากภยันตรายนั้นโดยไม่ต้องรับผิดทางอาญา ซึ่งการป้องกันตามกฎหมายไทยอยู่ใน มาตรา 68 “ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่น ให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด”

หลักเกณฑ์ของการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย[1]

            การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ม. 68 ของประมวลกฎหมายอาญานั้นจะต้องครบหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ หากไม่ครบแต่เพียงข้อใดข้อหนึ่งก็ไม่ใช่การป้องกันโดยชอบที่เป็นเหตุยกเว้นความผิดที่อยู่ในโครงสร้างความรับผิดทางอาญาโครงสร้างที่ 2

            1) มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย คำว่ามีภยันตราย (Danger) หมายถึง ภัยที่เป็นความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง เสรีภาพ ทรัพย์สิน[2] ซึ่งเป็นสิทธิของบุคคล ภัยที่เป็นอันตรายต่อสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งที่กฎหมายคุ้มครองอยู่ เมื่อมีผู้ใดมาประทุษร้ายย่อมสามารถป้องกันได้ ซึ่งถือเป็นสถานการณ์ที่ทำให้ผู้กระทำมีอำนาจกระทำได้[3] แต่หากยังไม่มีภยันตราย ก็ไม่อาจอ้างป้องกันได้ เช่น คำพิพากษาฎีกาที่ 5664/2540 จำเลยเพียงแต่เกรงว่าผู้ตายจะชักปืนออกมายิง ทั้งที่ยังไม่มีพฤติการณ์ที่ส่อว่าผู้ตายจะชักปืนออกมายิงทำร้ายจำเลย และไม่ปรากฏว่าผู้ตายมีอาวุธปืน จึงถือว่ายังไม่มีภยันตรายที่จำเลยจำต้องป้องกันแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการป้องกันตามกฎหมาย






เป็นเนื้อหาบางส่วนที่นำมาจากหนังสือคำอธิบายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป หากต้องการอ่านทั้งหมดสามารถซื้อได้ตามลิ้งด้านล่างครับ


คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
กฎหมายอาญาเบื้องต้น คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป อ่านเข้าใจง่าย ใช้เวลาไม่นานในการอ่านก็เข้าใจกฎหมายอาญาได้


ถาม-ตอบ กฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือถาม-ตอบ กฎหมายอาญาภาคทั่วไปจัดทำขึ้นมาโดยประสงค์จะให้นิสิต นักศึกษา รวมถึงผู้ที่สนใจกฎหมายอาญาภาคทั่วไปได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับกฎหมายอาญาภาคทั่วไป ซึ่งคำถามทั้งหมดครอบคลุมเนื้อหากฎหมายอาญาภาคทั่วไป ผู้เขียนตั้งใจเขียนให้อ่านเข้าใจง่าย เป็นการตั้งคำถามและอธิบายหลักการตามกฎหมาย รวมถึงมีการยกตัวอย่างเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนกฎหมายอาญา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น